fb.Soraya Kemsuwan
ig._sryksw_
ศาสนาคริสต์ (อังกฤษ: Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนา[1] เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ [2] ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน
คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ไถ่ ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์"[3] ศาสนาคริสต์ปัจจุบันแบ่งเป็นสามนิกายใหญ่ คือ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์ ซึ่งยังแบ่งนิกายย่อยได้อีกหลายนิกาย เขตอัครบิดรโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์แยกออกจากกันในช่วงศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก (East–West Schism) ใน ค.ศ. 1054 และนิกายโปรเตสแตนต์เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก[4]
ศาสนาคริสต์ในช่วงแรกถือเป็นนิกายหนึ่งของศาสนายูดาห์เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 1[5][6] โดยถือกำเนิดขึ้นในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกของตะวันออกกลาง (ปัจจุบัน คือ อิสราเอลและปาเลสไตน์) ไม่นานก็แผ่ขยายไปยังซีเรีย เมโสโปเตเมีย เอเชียไมเนอร์ และอียิปต์ ศาสนาคริสต์มีขนาดและอิทธิพลเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษ และจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ได้กลายมาเป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมัน[7] ระหว่างสมัยกลาง ดินแดนยุโรปที่เหลือส่วนมากรับศาสนาคริสต์แล้ว แต่บางภูมิภาค เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ เอธิโอเปีย และบางส่วนของประเทศอินเดีย คริสตชนยังถือเป็นศาสนิกชนกลุ่มน้อย[8][9] หลังยุคสำรวจ ศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายไปยังทวีปอเมริกา ออสตราเลเซีย แอฟริกาใต้สะฮารา และส่วนที่เหลือของโลกผ่านงานมิชชันนารีและการล่าอาณานิคม
คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระเยซูคือพระเมสสิยาห์ที่พยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งในศาสนาคริสต์เรียกว่า "พันธสัญญาเดิม" พื้นฐานเทววิทยาศาสนาคริสต์นั้นแสดงออกมาในหลักข้อเชื่อสากล (ecumenical creed) ที่มีมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในบรรดาคริสต์ศาสนิกชน การประกาศความเชื่อนี้มีอยู่ว่า พระเยซูทรงรับพระทรมาน สิ้นพระชนม์ และถูกฝังไว้ ก่อนจะคืนพระชนม์เพื่อให้ชีวิตนิรันดร์แก่ผู้ที่เชื่อในพระองค์และไว้วางใจว่าพระองค์เป็นผู้ไถ่บาป[10] พวกเขายังเชื่ออีกว่าพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ที่ซึ่งพระองค์ทรงควบคุมและปกครองรวมกับพระเจ้าพระบิดา นิกายส่วนใหญ่สอนว่าพระเยซูจะกลับมาพิพากษามนุษย์ทุกคน ทั้งคนเป็นและคนตาย และให้ชีวิตนิรันดร์แก่สาวกของพระองค์[11] พระองค์ทรงถูกมองว่าเป็นแบบอย่างของชีวิตอันดีงาม และเป็นทั้งผู้เผยพระวจนะและเป็นพระเจ้าลงมารับสภาพมนุษย์[12]
ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ศาสนาคริสต์มีศาสนิกชนประมาณ 2.4 พันล้านคนทั่วโลก[13][14] คิดเป็นประมาณ 33% หรือหนึ่งในสี่ถึงหนึ่งในสามของประชากรโลก และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก[15][16] ทั้งยังเป็นศาสนาประจำชาติในหลายประเทศ
มนุษย์ได้แบ่งศาสนาคริสต์ให้เป็นนิกายต่าง ๆ ซึ่งแปรไปตามพื้นที่, วัฒนธรรม และความคิดของตน นิกายที่สำคัญมี 3 นิกายคือ
พิธีกรรมสำคัญในศาสนานี้เรียกว่า "พิธีศักดิ์สิทธิ์" มีดังนี้
คือในคืนที่เขาอายัดพระเยซูเจ้านั้น พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ครั้นขอบพระคุณแล้วจึงทรงหัก แล้วตรัสว่า “นี่เป็นกายของเรา ซึ่งให้แก่ท่านทั้งหลาย จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา"
เมื่อรับประทานแล้ว พระองค์จึงทรงหยิบถ้วยด้วยอาการอย่างเดียวกัน ตรัสว่า “ถ้วยนี้คือพันธสัญญาใหม่ โดยโลหิตของเรา เมื่อท่านดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายกินขนมปังนี้และดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด ท่านก็ประกาศการวายพระชนม์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จนกว่าพระองค์จะเสด็จมา
และทางนิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์จะถือว่าเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์มาก โดยจะรับประทานขนมปังและไวน์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ความเชื่อแทนพระกายและพระโลหิตของพระเยซู (ทางศาสนจักรโรมันคาทอลิก และออร์ทอดอกซ์จะถือว่าขนมปังและไวน์ในทางอัศจรรย์จะกลายเป็นพระมังสาและพระโลหิตของพระเยซูคริสต์) และเป็นพิธีกรรมที่สืบเนื่องมาจากพิธีปัสคาของศาสนายูดาห์
สำหรับนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายออร์ทอดอกซ์ จะมีพิธีกรรมทั้ง 7 พิธี แต่สำหรับนิกายโปรเตสแตนต์ จะมีเพียง 2 พิธี คือ พิธีบัพติศมาและพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์
1. ความสมดุล หรือ ดุลยภาพ หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งในทางศิลปะยังรวมถึงความประสานกลมกลืนความพอเหมาะพอดีของส่วนต่างๆ ในรูปทรงหนึ่งหรืองานศิลปะชิ้นหนึ่งการจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ลงในงานศิลปกรรมนั้นจะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วงในธรรมชาตินั้นทุกสิ่งสิ่งที่ทรงตัวอยู่ได้โดยไม่ล้มเพราะมีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากันทุกด้าน ฉะนั้นในงานศิลปะถ้ามองดูแล้วรู้สึกว่าบางส่วนหนักไปแน่นไปหรือ เบาบางไปก็จะทำให้ภาพนั้นดูเอนเอียงและเกิดความรู้สึกไม่สมดุล เป็นการบกพร่องทางความงามดุลยภาพในงานศิลปะ มี 2 ลักษณะ คือ
1.1 ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน คือ การวางรูปทั้งสองข้างของแกนสมดุลเป็นการสมดุลแบบธรรมชาติลักษณะแบบนี้ใน ทางศิลปะมีใช้น้อยส่วนมากจะใช้ในลวดลายตกแต่งในงานสถาปัตยกรรมบางแบบหรือในงานที่ต้องการดุลยภาพที่นิ่งและมั่นคงจริง ๆ
1.2 ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือนกัน มักเป็นการสมดุลที่เกิดจาการจัดใหม่ของมนุษย์ซึ่งมีลักษณะที่ทางซ้ายและขวาจะไม่เหมือนกันใช้องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกันแต่มีความสมดุลกันอาจเป็นความสมดุลด้วย น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึกก็ได้ การจัดองค์ประกอบให้เกิดความสมดุลแบบอสมมาตรอาจทำได้โดยเลื่อนแกนสมดุลไปทางด้านที่มีน้ำหนักมากว่าหรือเลื่อนรูปที่มีน้ำหนักมากว่าเข้าหาแกนจะทำให้เกิดความสมดุลขึ้นหรือใช้หน่วยที่มีขนาดเล็กแต่มีรูปลักษณะที่น่าสนใจถ่วงดุลกับรูปลักษณะที่มีขนาดใหญ่แต่มีรูปแบบธรรมดา
2. จังหวะลีลา หมายถึง การเคลื่อนไหวที่เกิดจาการซ้ำกันขององค์ประกอบเป็นการซ้ำที่เป็นระเบียบจากระเบียบธรรมดาที่มีช่วงห่างเท่าๆ กันมาเป็นระเบียบที่สูงขึ้นซับซ้อนขึ้นจนถึงขั้นเกิดเป็นรูปลักษณะของศิลปะโดยเกิดจากการซ้ำของหน่วยหรือการสลับกันของหน่วยกับช่องไฟหรือเกิดจาก การเลื่อนไหลต่อเนื่องกันของเส้น สี รูปทรง หรือ น้ำหนัก รูปแบบๆหนึ่งอาจเรียกว่าแม่ลาย การนำแม่ลายมาจัดวางซ้ำ ๆ กันทำให้เกิดจังหวะและถ้าจัดจังหวะให้แตกต่างกันออกไป ด้วยการเว้นช่วงหรือสลับช่วงก็จะเกิดลวดลายที่แตกต่างกันออกไปได้อย่างมากมายแต่จังหวะของลายเป็นจังหวะอย่างง่าย ๆ ให้ความรู้สึกเพียงผิวเผินและเบื่อง่ายเนื่องจากขาดความหมายเป็นการรวมตัวของสิ่งที่เหมือนกันแต่ไม่มีความหมายในตัวเองจังหวะที่น่าสนใจและมีชีวิตได้แก่ การเคลื่อนไหวของ คน สัตว์ การเติบโตของพืชการเต้นรำเป็นการเคลื่อนไหวของโครงสร้างที่ให้ความบันดาลใจในการสร้างรูปทรงที่มีความหมาย
3. การเน้น หมายถึง การกระทำให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดาในงานศิลปะจะต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งหรือจุดใดจุดหนึ่งที่มีความสำคัญกว่าส่วนอื่น ๆ เป็นประธานอยู่ถ้าส่วนนั้นๆอยู่ปะปนกับส่วนอื่น ๆ และมีลักษณะเหมือน ๆ กันก็อาจถูกกลืนหรือถูกส่วนอื่นๆที่มีความสำคัญน้อยกว่าบดบังหรือแย่งความสำคัญความน่าสนใจไปเสียงานที่ไม่มีจุดสนใจ หรือประธานจะทำให้ดูน่าเบื่อเหมือนกับลวดลายที่ถูกจัดวางซ้ำกันโดยปราศจากความหมาย หรือเรื่องราวที่น่าสนใจดังนั้นส่วนนั้นจึงต้องถูกเน้น ให้เห็นเด่นชัดขึ้นมา เป็นพิเศษกว่าส่วนอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้ผลงานมีความงามสมบูรณ์ลงตัวและน่าสนใจมากขึ้น การเน้นจุดสนใจสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
3.1 การเน้นด้วยการใช้องค์ประกอบที่ตัดกัน (Emphasis by Contrast) สิ่งที่แปลกแตกต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของงานจะเป็นจุดสนใจ ดังนั้นการใช้องค์ประกอบที่มีลักษณะแตกต่าง หรือขัดแย้งกับส่วนอื่นก็จะทำให้เกิดจุดสนใจขึ้นในผลงานได้แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาลักษณะความแตกต่างที่นำมาใช้ด้วยว่าก่อให้เกิดความขัดแย้งกันในส่วนรวมและทำให้เนื้อหาของงานเปลี่ยนไปหรือไม่โดยต้องคำนึงว่าแม้มีความขัดแย้งแตกต่างกันในบางส่วนและในส่วนรวมยังมีความกลมกลืนเป็นเอกภาพเดียวกัน
3.2 การเน้นด้วยการด้วยการอยู่โดดเดี่ยว (Emphasis by Isolation) เมื่อสิ่งหนึ่งถูกแยกออกไปจากส่วนอื่น ๆ ของภาพหรือกลุ่มของมันสิ่งนั้นก็จะเป็นจุดสนใจเพราะเมื่อแยกออกไปแล้วก็จะเกิดความสำคัญขึ้นมาซึ่งเป็นผลจากความแตกต่างที่ไม่ใช่แตกต่างด้วยรูปลักษณะแต่เป็นเรื่องของตำแหน่งที่จัดวางซึ่งในกรณีนี้รูปลักษณะนั้นไม่จำเป็นต้องแตกต่างจากรูปอื่นแต่ตำแหน่งของมันได้ดึงสายตาออกไปจึงกลายเป็นจุดสนใจขึ้นมา
3.3 การเน้นด้วยการจัดวางตำแหน่ง (Emphasis by Placement) เมื่อองค์ประกอบอื่น ๆ ชี้นำมายังจุดใด ๆ จุดนั้นก็จะเป็นจุดสนใจที่ถูกเน้นขึ้นมาและการจัดวางตำแหน่งที่เหมาะสม ก็สามารถทำให้จุดนั้นเป็นจุดสำคัญขึ้นมาได้เช่นกันพึงเข้าใจว่าการเน้นไม่จำเป็นจะต้องชี้แนะให้เห็นเด่นชัดจนเกินไปสิ่งที่จะต้องระลึกถึงอยู่เสมอ คือ เมื่อจัดวางจุดสนใจแล้วจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้สิ่งอื่นมาดึงความสนใจออกไปจนทำให้เกิดความสับสนการเน้นสามารถกระทำได้ด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ของศิลปะ ไม่ว่าจะเป็น เส้น สี แสง-เงา รูปร่าง รูปทรงหรือพื้นผิวทั้งนี้ขึ้นอยู่ความต้องการในการนำเสนอของศิลปินผู้สร้างสรรค์
4. สัดส่วน หมายถึง ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างขนาดขององค์ประกอบที่แตกต่างกันทั้งขนาดที่อยู่ในรูปทรงเดียวกันหรือระหว่างรูปทรงและรวมถึงความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างองค์ประกอบทั้งหลายด้วยซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดีไม่มากไม่น้อยขององค์ประกอบทั้งหลายที่นำมาจัดรวมกันความเหมาะสมของสัดส่วนอาจพิจารณาจากคุณลักษณะดังต่อไปนี้
4.1 สัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จากรูปลักษณะตามธรรมชาติของ คน สัตว์ พืชซึ่งโดยทั่วไปถือว่าสัดส่วนตามธรรมชาติ จะมีความงามที่เหมาะสมที่สุดหรือจากรูปลักษณะที่เป็นการสร้างสรรค์ของมนุษย์ เช่น Gold section เป็นกฎในการสร้างสรรค์รูปทรงของกรีก ซึ่งถือว่าส่วนเล็กสัมพันธ์กับส่วนที่ใหญ่กว่าส่วนที่ใหญ่กว่าสัมพันธ์กับส่วนรวมทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมีสัดส่วนที่สัมพันธ์กับทุกสิ่งอย่างลงตัว
4.2 สัดส่วนจากความรู้สึกโดยที่ศิลปะนั้นไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อความงามของรูปทรงเพียงอย่างเดียว แต่ยังสร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึงเนื้อหาเรื่องราวความรู้สึกด้วยสัดส่วนจะช่วยเน้นอารมณ์ความรู้สึกให้เป็นไปตามเจตนารมณ์และเรื่องราวที่ศิลปินต้องการลักษณะเช่นนี้ทำให้งานศิลปะของชนชาติต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากมีเรื่องราว อารมณ์ และ ความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกต่าง ๆ กันไป เช่น กรีก นิยมในความงามตามธรรมชาติเป็นอุดมคติเน้นความงามที่เกิดจากการประสานกลมกลืนของรูปทรงจึงแสดงถึงความเหมือนจริงตามธรรมชาติส่วนศิลปะแอฟริกันดั้งเดิมเน้นที่ความรู้สึกทางวิญญาณที่น่ากลัวดังนั้นรูปลักษณะจึงมีสัดส่วนที่ผิดแผกแตกต่างไปจากธรรมชาติทั่วไป
5. เอกภาพ หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบศิลป์ทั้งด้านรูปลักษณะและด้านเนื้อหาเรื่องราวเป็นการประสานหรือจัดระเบียบของส่วนต่าง ๆให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวเพื่อผลรวมอันไม่อาจแบ่งแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกไปการสร้างงานศิลปะ คือการสร้างเอกภาพขึ้นจากความสับสน ความยุ่งเหยิงเป็นการจัดระเบียบและดุลยภาพให้แก่สิ่งที่ขัดแย้งกันเพื่อให้รวมตัวกันได้โดยการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆให้สัมพันธ์กันเอกภาพของงานศิลปะ มีอยู่ 2 ประการ คือ
5.1 เอกภาพของการแสดงออก หมายถึง การแสดงออกทีมีจุดมุ่งหมายเดียวแน่นอนและมีความเรียบง่ายงานชิ้นเดียวจะแสดงออกหลายความคิดหลายอารมณ์ไม่ได้จะทำให้สับสนขาดเอกภาพและการแสดงออกด้วยลักษณะเฉพาตัวของศิลปินแต่ละคนก็สามารถทำให้เกิดเอกภาพแก่ผลงานได
5.2 เอกภาพของรูปทรง คือ การรวมตัวกันอย่างมีดุลยภาพและมีระเบียบขององค์ประกอบทางศิลปะเพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงหนึ่ง ที่สามารถแสดงความคิดเห็นหรืออารมณ์ของศิลปินออกได้อย่างชัดเจน เอกภาพของรูปทรงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อความงามของผลงานศิลปะเพราะเป็นสิ่งที่ศิลปินใช้เป็นสื่อในการแสดงออกถึงเรื่องราว ความคิดและอารมณ์
หลังจากพ่อขุนรามคำแหงแล้ว เมืองต่างๆเริ่มอ่อนแอลงเมือง ส่งผลให้ในรัชกาลพญาเลอไท และรัชกาลพญาไสลือไท ต้องส่งกองทัพไปปราบหลายครั้งแต่มักไม่เป็นผลสำเร็จ และการปรากฏตัวขึ้นของอาณาจักรอยุธยาทางตอนใต้ซึ่งกระทบกระเทือนเสถียรภาพของสุโขทัยจนในท้ายที่สุดก็ถูกแทรกแทรงจากอยุธยา จนมีฐานะเป็นหัวเมืองของอยุธยาไปในที่สุด โดยมีพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครองสุโขทัยในฐานะรัฐอิสระพระองค์สุดท้าย โดยขณะนั้น ด้วยการแทรกแซงของอยุธยา รัฐสุโขทัยจึงถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
หลังสิ้นรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) พระยายุทธิษเฐียรซึ่งเดิมทีอยู่ศรีสัชนาลัย ได้เข้ามาครองเมืองสองแคว (พิษณุโลก) และเมื่อแรกที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นผ่านพิภพ เป็นพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่าขณะนั้นพระยายุทธิษเฐียรเกิดน้อยเนื้อต่ำใจที่ได้เพียงตำแหน่งพระยาสองแคว เนื่องด้วยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเคยดำริไว้สมัยทรงพระเยาว์ว่า หากได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ จะชุบเลี้ยงพระยายุทธิษฐิระให้ได้เป็นพระร่วงเจ้าสุโขทัย พ.ศ. 2011 พระยายุทธิษฐิระจึงเอาใจออกห่างจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไปขึ้นกับ พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนาในขณะนั้น เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการเฉลิมพระนามกษัตริย์ล้านนาจากพระยาเป็นพระเจ้า เพื่อให้เสมอศักดิ์ด้วยกรุงศรีอยุธยา พระนามพระยาติโลกราช จึงได้รับการเฉลิมเป็นพระเจ้าติโลกราช
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประวัติศาสตร์ไทย | ||||||||||
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ | ||||||||||
| ||||||||||
อาณาจักรมอญ-เขมร | ||||||||||
| ||||||||||
อาณาจักรของคนไท | ||||||||||
| ||||||||||
หลังกรุงศรีอยุธยา | ||||||||||
| ||||||||||
ประวัติศาสตร์รายภูมิภาค | ||||||||||
แบ่งตามหัวข้อ | ||||||||||
สถานีย่อยประเทศไทย | ||||||||||
พ.ศ. 2127 หลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวหัวเมืองเหนือทั้งปวง (เมืองพระพิษณุโลกสองแคว เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิจิตร และเมืองพระบาง)[4] ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขทัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ
ในด้านวิชาการ มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอเพิ่มว่า เหตุการณ์อีกประการ อันทำให้ต้องเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงโดยเฉพาะพิษณุโลกนั้น อยู่ที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ บนรอยเลื่อนวังเจ้า ในราวพุทธศักราช 2127 แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกราพณาสูญ แม้แต่แม่น้ำแควน้อย ก็เปลี่ยนเส้นทางไม่ผ่านเมืองพิษณุโลก แต่ไปบรรจบกับแม่น้ำโพ (ปัจจุบันคือแม่น้ำน่าน) ที่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และยังส่งผลให้พระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก หักพังทลายในลักษณะที่บูรณะคืนได้ยาก ในการฟื้นฟูจึงกลายเป็นการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาครอบทับลงไปแทน
fb.Soraya Kemsuwan ig._sryksw_